ประเภทของความรู้

  

                    ประเภทของความรู้  

มี  2 อย่าง  คือ

1.    ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit  Knowledge )  คือ  ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม  เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์  สังเคราะห์  ผ่านกระบวนการพิสูจน์  กระบวนการวิจัย  จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง
 2.    ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน  (Tacit  Knowledge ) คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด  เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน   การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ   กลายเป็นความชำนาญ   เชี่ยวชาญ  จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล  เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ   ปฏิภาณไหวพริบ  เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคคล

สรุป
หลักการจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี ประเภท คือ 
       1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
      2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น